วันอาทิตย์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบการเรียนการสอน

รูปแบบการสอนและการออกแบบการเรียนรู้
               
        รูปแบบการสอน หมายถึง กระบวนหรือแผนงานที่ใช้รูปแบบการสอนเป็นการเอาแนวคิดในเรื่องความมุ่งหมายของการศึกษา กลยุทธ์ในการสอนวิธีวางหลักสูตร และการใช้วัสดุการสอนและทฤษฎีทางสังคมและจิตวิทยา แล้วจัดขึ้นใหม่โดยการสร้างความสัมพันธ์สอดคล้องจากแนวคิดดังกล่าว ผู้เกี่ยวข้องต้องตระหนักว่า
                1.ไม่มีรูปแบบการสอนแบหนึ่งแบบใดที่ช่วยให้บรรลุความสำเร็จในการสอนเสมอไป
                2. การแก้ปัญหาด้านการสอนเป็นงานที่ยุ่งยากซับซ้อน
                3. ไม่มีรูปแบบการสอนใดที่ดีที่สุด ทั้งนี้ เพราะหลักการสอนเป็นเรื่องที่ไม่คงที่แต่เปลี่ยนไปตามสิ่งต่อไปนี้
                                3.1 การปฏิสัมพันธ์ระหว่างวัตถุประสงค์ ด้านสังคม และความรู้ความเข้าใจ
                                3.2 ทฤษฎีการเรียนรู้ที่นำมาใช้ในการวางวิธีดำเนินการ
                                3.3 เทคโนโลยีที่มีอยู่
                                3.4 เปลี่ยนไปตามลักษณะส่วนตัวและลักษณะทางสติปัญญาของผู้เรียน
                สถานศึกษาจึงต้องกำหนดแนวคิด หลักเกณฑ์และวิธีปฏิบัติในการออกแบบการเรียนรู้เพื่อให้บุคลากรที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายถือปฏิบัติร่วมกันและเป็นไปในมาตรฐานเดียวกัน
               
สาระของการออกแบบการเรียนรู้ของสถานศึกษา จะประกอบด้วย
                1.  การจัดการเรียนรู้ เป็นการเสนอเกี่ยวกับ
                                1.1  หลักการแนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
                                1.2  แนวดำเนินการของสถานศึกษาในการจัดการเรียนการสอน
                2.  สื่อการเรียนรู้ เป็นการเสนอเกี่ยวกับ
                                2.1  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับสื่อการเรียนรู้ของสถานศึกษา
                                2.2  แนวดำเนินการของสถานศึกษาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล
                3.  การวัดและประเมินผล เป็นการเสนอเกี่ยวกับ
                                3.1  หลักการและแนวคิดเกี่ยวกับการวัดและประเมินผลของสถานศึกษา
                                3.2  แนวดำเนินการของสถานศึกษาเกี่ยวกับการวัดและประเมินผล
               
ในการดำเนินการออกแบบการเรียนรู้ สถานศึกษาควรได้ดำเนินการดังนี้
                1.  ตั้งคณะทำงานออกแบบการเรียนรู้ของสถานศึกษา
                2.  ศึกษาหลักการ แนวคิดเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สื่อและการวัดและประเมินผล จากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542  หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารประกอบหลักสูตรเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน สื่อและการวัดและประเมินผล คู่มือการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ และเอกสารอื่น ๆ
                3.  ศึกษาวิสัยทัศน์ ภารกิจ เป้าหมาย และคุณลักษณะอันพึ่งประสงค์ของผู้เรียนที่สถานศึกษาได้กำหนดไว้
                4.  ศึกษาข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยต่าง ๆ ในการจัดการเรียนรู้ทั้งด้านอาคาร สถานที่ ห้องปฏิบัติการด้านต่าง ๆ สื่อแหล่งเรียนรู้ ศักยภาพของผู้สอน บุคลากรในสถานศึกษา ผู้เรียน ผู้ปกครองและผู้เกี่ยวข้อง
                5.  ศึกษาความพร้อมของชุมชนและท้องถิ่นในการสนับสนุนส่งเสริมการจัดการศึกษา
                6.  ประมวลผลการศึกษา ข้อ 1-5 นำมาเขียนเป็นหลักการ แนวคิดและแนวดำเนินการของสถานศึกษาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ สื่อและการวัดและประเมินผล
การออกแบบการสอน (Instructional Design) เป็นทั้งกระบวนการสำหรับการจัดเตรียมโปรแกรมการสอนอย่างเป็นระบบและหลักการทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ของบุคคล ทั้งกระบวนการ และหลักการการออกแบบระบบการเรียนการสอน (Instructional System design) มีชื่อเรียกหลากหลาย เช่น การออกแบบการเรียนการสอน (Instructional design) การออกแบบและพัฒนาการสอน (Instructional design and development) เป็นต้น คือมาจากแนวคิดในการใช้กระบวนการของวิธีระบบ (system approach)

ความหมายของระบบ
คำว่าระบบว่า “ระบบ หมายถึงองค์ประกอบต่างๆ ที่มีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน มีปฏิสัมพันธ์กัน ซึ่งองค์ประกอบทั้งหลายเหล่านี้จะร่วมกันทำงานเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันเพื่อให้บรรลุถึงจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้”

ระบบจะต้องมี
1. องค์ประกอบ
2. องค์ประกอบนั้นต้องมีความสัมพันธ์ มีการโต้ตอบ มีปฏิสัมพันธ์กันและ
3. ระบบต้องมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินกิจกรรมนั้น ๆ

ลักษณะของระบบที่ดี
ระบบที่ต้องสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ (Efficiency) และมีความยั่งยืน (sustainable) การมีประสิทธิภาพและมีความยั่งยืน ระบบนั้นจะต้องมีลักษณะ 4 ประการคือ
1. มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม (interact with environment)
2. มีจุดหมายหรือเป้าประสงค์ (purpose)
3. มีการรักษาสภาพตนเอง (self – regulation)
4. มีการแก้ไขตนเอง (self – correction)

มีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
 ระบบทุก ๆ ระบบจะมีปฏิสัมพันธ์ไม่ทางใดก็ทางหนึ่งกับโลกรอบๆ ตัวของระบบ โลกรอบ ๆ ตัวนี้ เรียกว่า “สิ่งแวดล้อม” การที่ระบบมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมนี้เองทำให้ระบบดังกล่าวกลายเป็นระบบเปิด (open system) กล่าวคือ ระบบจะรับปัจจัยนำเข้า (inputs) จากสิ่งแวดล้อม ซึ่งอาจจะเป็นพลังงาน อาหาร ข้อมูล ฯลฯ ระบบจะจัดกระทำเปลี่ยนแปลงปัจจัยนำเข้านี้ให้เป็นผลผลิต (outputs) แล้วส่งกลับไปให้สิ่งแวดล้อมอีกทีหนึ่ง

ปัญหาในระบบการเรียนการสอน
              
  เป้าหมายหลักของครูหรือนักฝึกอบรมในการสอน  คือการช่วยให้ผู้เขียนหรือผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้เรียนรู้  และในการช่วยให้เกิดการเรียนรู้นี้มีปัญหาหลัก ๆ อยู่หลายประการที่ผู้ออกแบบการเรียนการสอนจะต้องตระหนักและพยายามหลีกเลี่ยง ปัญหาดังกล่าวคือ
1.ปัญหาด้านทิศทาง  (Direction)
2.ปัญหาด้านการวัดผล  (Evaluation)
3.ปัญหาด้านเนื้อหาและการลำดับเนื้อหา  (Content  and  Sequence)
4.ปัญหาด้านวิธีการ  (Method)
5.ปัญหาข้อจำกัดต่าง ๆ  (Constraint)  
                
องค์ประกอบของการออกแบบการเรียนการสอน
              
      การออกแบบการเรียนการสอนจึงประกอบด้วยองค์ประกอบต่าง ๆ  ที่สัมพันธ์กันอย่างแยกไม่ได้  และในกระบวนการออกแบบการเรียนการสอนก็จะมีกลไกในการปรับปรุงแก้ไขตัวเอง อันได้แก่  กระบวนการใช้ข้อมูลป้อนกลับ (Feedback)  จากการประเมินผลที่เรียกว่า การประเมินผลเพื่อการปรับปรุง (formative evaluation) 
 
 
รูปแบบดั้งเดิม  (Generic model) 
1.การวิเคราะห์  (Analysis)
2.การออกแบบ  (Design)
3.การพัฒนา  (Development)
4.การนำไปใช้  (Implementation)
5.การประเมินผล  (Evaluation)
 
รูปแบบต่าง ๆ ของการออกแบบการเรียนการสอน
 รูปแบบการสอนของดิคค์และคาเรย์  (Dick  and Carey  model)
      รูปแบบการสอน (Model)  ของดิคค์และคาเรย์ ประกอบด้วยองค์ประกอบด้วย 10 ขั้นด้วยกัน คือ
1. การกำหนดเป้าหมายของการเรียนการสอน (Identify  Instructional  Goals)
2. ดำเนินการวิเคราะห์การเรียนการสอน  (Conduct  Instructional Analysis)
3. กำหนดพฤติกรรมก่อนเรียนและลักษณะผู้เรียน  (Identify  Entry  Behaviors,  Characteristics)
4. เขียนจุดมุ่งหมายเชิงพฤติกรรม   (Write  Performance  Objective)
5. พัฒนาข้อสอบอิงเกณฑ์   (Develop  Criterion - Referenced  Test  Items)
6. พัฒนายุทธวิธีการสอน  (Develop Instructional  Strategies)
7. พัฒนาและเลือกวัสดุการเรียนการสอน  (Develop  and  Select  Instructional  Materials)
8. ออกแบบและดำเนินการประเมินเพื่อการปรับปรุง   (Design  and  Conduct  Formative  Evaluation)
9. การปรับปรุงการสอน   (Revise  Instruction)
10. การออกแบบและดำเนินการประเมินระบบการสอน   (Design  and  Conduct  Summative  E valuation)

ระบบการสอนของเกอร์ลาชและอีลาย (Ger latch and Ely Model)
                เกอร์ลาชและอีลายเสนอรูปแบบการออกแบบการสอนประกอบด้วยองค์ประกอบ  10 อย่างด้วยกันคือ
1.การกำหนด  เป็นการกำหนดว่าต้องการให้ผู้เรียนรู้อะไร แค่ไหน  อย่างไร
2.การกำหนดเนื้อหา  (Specify  Content) เป็นการกำหนดว่าผู้เรียนต้องเรียนอะไรบ้างในอันที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
3.การวิเคราะห์ประสบการณ์เดิมของผู้เรียน (Analyze  Learner  Background  Knowledge) เพื่อทราบความสามารถพื้นฐานของผู้เรียน
4.เลือกวิธีสอน (Select  Teaching  Method) ทำการเลือกวิธีสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย
5.กำหนดขนาดของกลุ่ม (Determine  Group  Size) เลือกว่าจะสอนเป็นกลุ่มย่อยหรือกลุ่มใหญ่อย่างไร
6.กำหนดเวลา  (Time  Allocation)  กำหนดว่าจะใช้เวลาในการสอนมากน้อยเพียงใด
7.กำหนดสถานที่ เครื่องอำนวยความสะดวก (Specify  Setting  and  Facilities) กำหนดว่าจะสอนที่ไหน  ต้องเตรียมอะไรบ้าง
8.เลือกแหล่งวิชาการ (Select  Learning  Resources)  ต้องใช้สื่ออะไร  อย่างไร
9.ประเมินผล  (Evaluation)  ดูว่าการสอนเป็นไปตามจุดมุ่งหมายหรือไม่
10.วิเคราะห์ข้อมูลป้อนกลับเพื่อการปรับปรุงแก้ไข (Analyze  Feedback  for  Revision) เป็นการวิเคราะห์ว่าถ้าการสอนไม่ได้ผลตามจุดมุ่งหมายจะทำการปรับปรุงแก้ไขตรงไหนอย่างไร

การวิเคราะห์ระบบ (System Analysis)

การวิเคราะห์ระบบ คือ  กระบวนการศึกษาขอบข่าย (Network) ของปฏิสัมพันธ์ขององค์ประกอบต่าง ๆ ในระบบ เพื่อจะเสนอแนวทางในการดำเนินการเพื่อปรับปรุงการทำงานของระบบนั้น ๆ   
ในการวิเคราะห์ระบบจะประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เป็นวงจรชีวิต (Life cycle) ดังต่อไปนี้ คือ
1. การกำหนดปัญหา (Problem  definition)
2. การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล  (Data  collection  and  analysis)
3. การวิเคราะห์ทางเลือกของระบบ  (Analysis  of  system  alternatives)
4. ศึกษาความเป็นไปได้ของทางเลือก  (Determination  0f  feasibility)
5. การพัฒนาแนวคิดเพื่อเสนอขอความคิดเห็น (Development  0f  the  systems  proposal)
6. การพัฒนาและทดลองใช้ต้นแบบ  (Pilot  of  prototype  systems  development)
7. การออกแบบระบบ  (System  design)
8. การพัฒนาโปรแกรม  (Program  development)
9. การนำระบบใหม่เข้าไปใช้  (System  implementation)
10. การตรวจสอบและการประเมินระบบ (Systems  implementation)
กิจกรรมทั้ง 10 นี้ ปกติแล้วจะไม่สามารถดำเนินการในลักษณะที่แยกออกจากกันอย่างเด็ดขาดได้ เพราะในลักษณะการทำงานจริง กิจกรรมเหล่านี้จะมี่ความเกี่ยวโยงกัน

การออกแบบการสอนแบบบูรณาการ
    
  การออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ 
         มีขอบข่ายเนื้อหา คือ
                   1. ขั้นตอนการบูรณาการและ วิธีการสอนแบบบูรณาการ
                   2. หลักการการออกแบบการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ
 ขั้นตอนและวิธีการ
            การจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการ  ทั้งการบูรณาการภายในวิชาและบูรณาการระหว่างวิชา  มีหลักการเช่นเดียวกัน โดยมีขั้นตอนและวิธีการดังต่อไปนี้
           ขั้นตอนการจัดทำการบูรณาการเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ
ขั้นตอนที่ 1  ศึกษาหลักสูตรและเอกสารประกอบหลักสูตร เป็นการหาความสัมพันธ์ของเนื้อหาที่มีความเกี่ยวข้องกัน เพื่อนำมากำหนดเป็นปัญหาหรือหัวเรื่องในการเรียนการสอน
ขั้นตอนที่ 2  วิเคราะห์หลักสูตร เป็นการศึกษาจุดประสงค์ของวิชาหลักและวิชารองที่จะนำมาบูรณาการ จะทำให้เห็นภาพที่ชัดเจนในการดำเนินการเรียนการสอน รวมทั้งการวัดและประเมินผล
ขั้นตอนที่ 3  จัดทำกำหนดการสอน เป็นการวางแผนการสอนแบบกว้างๆ โดยนำรายละเอียดที่ได้จากการวิเคราะห์คำอธิบายในหลักสูตรมาแยกย่อยเนื้อหา จุดประสงค์ กิจกรรม รวมทั้งกำหนดคาบในการสอน ซึ่งกำหนดการสอนแบบบูรณาการจะเพิ่มช่องบูรณาการและมีเนื้อหาบูรณาการแบบภายในวิชาหรือเนื้อหาบูรณาการระหว่างวิชาต่างๆ เข้าไปด้วย
ขั้นตอนที่ 4  เขียนแผนการสอน เป็นการกำหนดรายละเอียดของการสอนตั้งแต่ต้นจนจบ ประกอบด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรมการเรียนการสอน การวัดและประเมินผล โดยยึดหลักความสอดคล้องของแต่ละวิชาในการเรียนการสอนในช่วงเวลาเดียวกัน
ขั้นตอนที่ 5  ปฏิบัติการสอน เป็นการปฏิบัติกิจกรรมการเรียนการสอนที่กำหนดไว้ในแผนการสอน โดยมีการสังเกตพฤติกรรมการเรียนของผู้เรียน ความสอดคล้องสัมพันธ์กันของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน รวมทั้งผลสำเร็จของการสอนตามจุดประสงค์ เป็นต้น โดยมีการบันทึกจุดเด่นและข้อปรับปรุงเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป
ขั้นตอนที่ 6  ประเมิน ปรับปรุง และพัฒนาการสอน เป็นการนำผลที่ได้จากการบันทึกรวบรวมไว้ในขณะปฏิบัติการสอนมาวิเคราะห์เพื่อการปรับปรุงและพัฒนาแผนการสอนแบบบูรณาการให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

การออกแบบการสอนตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม
ข้อตกลงเบื้องต้นของการออกแบบการสอนที่มีพื้นฐานจากทฤษฎีคอนสตรัคติวิสซึม (Constructivism) ได้ให้ข้อตกลงไว้ดังนี้
1.การสร้างการเรียนรู้ (Learning Constructed) ความรู้จะถูกสร้างจากประสบการณ์การเรียนรู้เป็นกระบวนการสร้าง สิ่งขึ้นแทนความรู้(Representation)ในสมองที่ผู้เรียนเป็นผู้สร้างขึ้น
2.การแปลความหมายของแต่ละคน (Interpretation personal) การเรียนรู้เป็นการแปลความหมายตามสภาพจริง (Real world) ของแต่ละคน" การเรียนรู้เป็นผลจากการแปลความหมายตามประสบการณ์ของแต่ละคน
3.การเรียนรู้เกิดจาการลงมือกระทำ (Learning active) การเรียนรู้เป็นการที่ผู้เรียนได้ลงมือกระทำซึ่งเป็นการสร้าง ความหมายที่พัฒนาโดยอาศัยพื้นฐานของประสบการณ์
4.การเรียนรู้ที่เกิดจากการร่วมมือ (Learning Collaborative) ความหมายในการเรียนรู้เป็นการต่อรองจากแนวคิด ที่หลากหลาย "การพัฒนาความคิดรวบยอดของตนเอง ได้มาจากการร่วมแบ่งปัน แนวคิดที่หลากหลายในกลุ่ม และในขณะเดียวกันก็ปรับเปลี่ยนการสร้างสิ่งที่แทนความรู้ในสมอง(Knowledge representation)ที่สนองตอบต่อแนวคิดที่หลากหลายนั้น หรืออาจกล่าวได้ว่า ในขณะที่มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้โดยการอภิปรายเสนอความคิดเห็นที่หลากหลายของแต่ละคน ผู้เรียนจะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างความรู้ของตนด้วยและสร้างความหมายของตนเองขึ้นมาใหม่ ซึ่งตรงกับแนวคิด Cunningham ที่กล่าวว่า "บทบาทของการศึกษา คือ การส่งเสริมให้เกิดความร่วมมือกับคนอื่นจากการร่วมแสดงแนวคิดที่หลากหลายที่จะทำให้เกิดปัญหาเฉพาะและนำไปสู่การเลือกจุดหรือสถานการณ์ที่พวกเขาจะยอมรับในระหว่างกัน…."
5.การเรียนรู้ที่เหมาะสม (Learning Situated)ควรเกิดขึ้นในสภาพชั้นเรียนจริง (Situated or anchored) " การเรียนรู้ต้องเหมาะสมกับบริบทของสภาพจริง หรือสะท้อนบริบทที่เป็นสภาพจริง"
6.การทดสอบเชิงการบูรณาการ (Testing Integrated) การทดสอบควรจะเป็นการบูรณาการเข้ากับภารกิจการเรียน (Task) ไม่ควรเป็นกิจกรรมที่แยกออกจากบริบท การเรียนรู้ " การวัดการเรียนรู้ เป็นวิธีการที่ผู้เรียนใช้โครงสร้างความรู้เป็นเครื่องมือในการส่งเสริมให้เกิดการคิดในเนื้อหาการเรียนรู้นั้น ๆ "